
ชงกู้1.5หมื่นล้านแก้ยางราคาตก หนุนแปรรูปทำถนน-ซื้อเก็บสต๊อก
ก.เกษตรฯ ชงของบฯ 1.5 หมื่นล้าน แก้ปัญหายางพาราสต๊อกบวม ราคาร่วง ขณะที่ กสย.หนุนแปรรูปทำถนน งานชลประทาน "คมนาคม" สั่งกรมทางหลวง-กรมทางหลวงชนบท ลงมือด่วน
แหล่งข่าวจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า มาตรการทั้งหมดที่กระทรวงเกษตรฯเสนอคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) เมื่อวันที่ 25 ก.ค. 57 ซึ่งมี พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธานยังไม่เป็นที่น่าพอใจและต้องปรับปรุงทบทวนใหม่ โดยมาตรการระยะเร่งด่วนมาตรการหนึ่งที่เสนอไป คือสินเชื่อวงเงิน 15,000 ล้านบาท จากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สำหรับสหกรณ์ยางพาราทั่วประเทศ แบ่งเป็น 1.วงเงิน 5,000 ล้านบาท สำหรับสหกรณ์ยางพาราแปรรูปที่ต้องการกู้ปรับปรุงหรือซื้อเครื่องจักรโรงงาน เพื่อจูงใจให้การแปรรูปยางพารากลางน้ำในประเทศมีมากขึ้น จะช่วยแก้ไขปัญหายางพาราตกได้ โดยรัฐจะเป็นผู้อุดหนุนดอกเบี้ย 3.99%
2.วง เงิน 10,000 ล้านบาท สำหรับสหกรณ์กู้สินเชื่อใช้เป็นเงินหมุนเวียนในการเก็บชะลอยางเมื่อเกิดภาวะ ยางราคาตก โดยเป็นวงเงินระยะ 12 เดือน รัฐอุดหนุนดอกเบี้ย 3.00% จะช่วยพยุงราคายางได้ด้วยการลดอุปทานในตลาด
แหล่งข่าวกล่าวว่า ในส่วนวงเงิน 5,000 ล้านบาท จากการสำรวจเบื้องต้นพบว่ามีสหกรณ์ยางพารา 265 แห่งทั่วประเทศที่ต้องการกู้สินเชื่อปรับปรุงเครื่องจักรเป็นวงเงิน กว่า 6,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม หากสินเชื่อนี้อนุมัติจะต้องมีการกลั่นกรอง โดยอาจแต่งตั้งคณะกรรมการระดับจังหวัด เพื่อคัดกรองสหกรณ์ที่มีศักยภาพ จากนั้นให้ ธ.ก.ส.เป็นผู้ตัดสินใจอนุมัติสินเชื่อแต่ละราย เบื้องต้นคาดว่าจะอนุมัติสินเชื่อสำหรับปรับปรุงหรือซื้อเครื่องจักรในวง เงิน 3,500 ล้านบาท และอีก 1,500 ล้านบาทใช้สำหรับปล่อยเป็นสินเชื่อหมุนเวียนธุรกิจ
กนย.-บีโอไอหารือทุกฝ่ายแก้ยาง
แหล่ง ข่าวกล่าวต่อว่า การประชุม กนย.ในวันที่ 1 ส.ค. 2557 จะมีการหารือร่วมกันของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับยางพาราทุกภาคส่วน เช่น โรงงานอุตสาหกรรมยางแปรรูป ตัวแทนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เพื่อรวบรวมข้อคิดเห็นต่อมาตรการต่าง ๆ ให้กระทรวงเกษตรฯนำไปปรับปรุงแก้ไขต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การขอสินเชื่อวงเงิน 10,000 ล้านบาทให้แก่สหกรณ์ยางพาราทั่วประเทศเพิ่มเติม นอกเหนือจากวงเงินเดิม 5,000 ล้านบาทนั้น สอดคล้องกับความเห็นของนายเยี่ยม ถาวโรฤทธิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทร่วมทุนยางพาราระหว่างประเทศ จำกัด (IRCo) เปิดเผยว่า จากสต๊อกยางพาราทั่วโลกที่มีมากขึ้นเป็น 2.3 ล้านตัน เทียบกับช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาที่มีสต๊อก 1.7-1.8 ล้านตัน ทำให้ราคายางพาราตกต่ำลง ฉะนั้น ภาครัฐต้องหาทางออกด้วยการสร้างโกดังเก็บยางในช่วงครึ่งหลังของปีที่ยางออก สู่ตลาดมากแล้วค่อยทยอยขายในไตรมาส 1-2 หรือครึ่งปีแรกที่ยางผลัดใบ หรือภาครัฐควรปล่อยสินเชื่อให้เอกชนกู้ปลอดดอกเบี้ยเก็บสต๊อกยางไตรมาส 3-4 แล้วรอขายในไตรมาส 1-2 แทน
"ภาวะยางเช่นนี้ เราต้องบริหารจัดการสต๊อกให้เป็น ถ้าไม่ทำ ผู้ซื้อจะกดราคา อย่างเช่นจีน ที่กำลังผลักดันให้เมืองชิงเต่าเป็นศูนย์กลางยางพาราโลก และเป็นผู้ควบคุมราคายางที่รับซื้อ ด้วยการตั้งคลังสินค้าทัณฑ์บนขนาดใหญ่ขึ้นมา ทั้งที่ 3 ประเทศผู้ผลิตรายใหญ่คือไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ซึ่งมีผลผลิต 8 ล้านตัน หรือไม่ต่ำกว่า 70% ของผลผลิตโลกควรจะเป็นผู้กำหนดราคา ดังนั้น ภาครัฐควรจะให้สินเชื่อปลอดดอกเบี้ยให้ภาคเอกชนสร้างโกดังบวกเงินทุนหมุน เวียนเก็บยางพารารอขายช่วงราคาสูง นอกเหนือจากการให้สินเชื่อเพื่อซื้อ-ปรับปรุงเครื่องจักรเพื่อเพิ่มมูลค่า ยางในช่วงภาวะราคายางตกต่ำ เพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลางยางพารา"
ชงแปรรูปยางพาราทำถนน
ทาง ด้านนายสมชาย ณ ประดิษฐ์ กรรมการบริหารสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) เปิดเผยว่า สถานการณ์ราคายางพาราตกต่ำในขณะนี้จำเป็นอย่างยิ่งจะต้องมีนโยบายการแก้ไข ปัญหายางพาราที่มั่นคงและถาวร โดยเฉพาะการแปรรูปยางใช้ในประเทศ เช่น การทำถนน เนื่องจากงานวิชาการและกรมทางหลวงยืนยันแล้วว่ายางพารามีประสิทธิภาพในการ ผลิตใช้งานได้จริง
"ถึงเวลาแล้วที่จะต้องเร่งการแปรรูปใช้ภายใน ประเทศ ซึ่งมีการพูดกันมานานแล้ว แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะปัจจัยกลไกของรัฐ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากชาวสวนยางอยู่ได้ ปัจจัยต่าง ๆ ก็จะกระเตื้องขึ้น เพราะมีกำลังซื้อที่สูงขึ้น"
แหล่งข่าวจาก สกย.กล่าวว่า ขณะนี้ คสช.กำลังขับเคลื่อนแก้ไขปัญหายางพาราอย่างเร่งด่วน โดยจะนำยางที่ค้างสต๊อกประมาณ 2 แสนตันมาแปรรูปผลิตเพื่อทำถนนและงานชลประทาน คาดว่าน่าจะใช้ระยะเวลาประมาณ 2-3 เดือนหลังจากนี้
คมนาคมรับลูกใช้ฉาบผิวถนน
นาง สร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ในหนึ่งนโยบายที่จะเร่งดำเนินการคือ ช่วยภาครัฐบาลแก้ปัญหาเรื่องยางพาราที่ล้นตลาด โดยได้มอบนโยบายให้กรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบทนำมาขยายผลในการซ่อมแซมถนน มากขึ้นจากเดิมอาจจะใช้เป็นแค่บางสายทาง เพราะตามที่ได้รับรายงานทราบว่า การใช้น้ำยางพารามาผสมในงานผิวถนนทำให้มีความเหนียวหนึบมากขึ้นในช่วงโค้ง
"จะทำงานร่วมกับกระทรวงเกษตรฯ เพราะทราบมาว่าปัจจุบันปริมาณยางพาราในตลาดมีอยู่จำนวนมาก"
นาย ชัชวาลย์ บุญเจริญกิจ อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า กรมเตรียมนำยางพารามาผสมกับแอลฟัลต์หรือยางมะตอย เพื่อปูผิวถนนที่ต้องบูรณะในปีงบประมาณ 2558 เพิ่มขึ้นจากเดิมได้ เริ่มดำเนินการมาบ้างแล้ว ซึ่งจากผลการศึกษาพบว่าจะทำให้อายุการใช้งานถนนเพิ่มขึ้นอีก 2 ปีจากการฉาบผิวถนนปกติ ทำให้เสียงบประมาณในการซ่อมบูรณะน้อยลง ถึงแม้จะทำให้ต้นทุน (เฉพาะงานผิวทาง) เพิ่มขึ้นกว่าผิวแอสฟัลต์ธรรมดาประมาณ 20-30% แต่จะช่วยยืดอายุการใช้งานมากขึ้น
"เราเพิ่งออกสเป็กก่อสร้างที่จะ มารองรับตรงนี้เมื่อปีที่แล้ว เรียกว่าพาราแอสฟัลต์ ก่อนหน้านี้มีการทดสอบและทดลองมาแล้ว ก่อนจะออกมาเป็นมาตรฐานให้ผู้รับเหมานำมาคำนวณ ซึ่งจะเป็นอีกทางหนึ่งของวิศวกรผู้ออกแบบในการเลือกใช้ตามสภาพเนื้องานและ ปริมาณการจราจร"
ในแผนงานปี 2558 กรมจะนำยางพารามาใช้สำหรับงานฉาบผิวประมาณ 430 ตัน คิดเป็นงบประมาณ 1,400 ล้านบาท และผสมลงในแอสฟัสต์เพื่อทำผิวใหม่ คิดเป็นปริมาณน้ำยาง 782 ตัน คิดเป็นงบประมาณ 1,000 ล้านบาท
นายชาติชาย ทิพย์สุนาวี อธิบดีกรมทางหลวงชนบท (ทช.) กล่าวว่า ที่ผ่านมากรมเคยนำยางพารามาผสมกับแอสฟัลต์ใช้กับผิวถนนที่เป็นทางโค้ง ทางลาดชันและขึ้นเขา เพื่อเพิ่มความฝืดของผิวถนนให้รถไม่เสียหลักเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย โดยคิดเป็นงบประมาณเฉลี่ย 200-300 ล้านบาทต่อปี ส่วนปี 2558 อยู่ระหว่างจัดทำแผนงาน ทั้งนี้ อีก 2-3 เดือนนี้กรมจะนำยางพาราที่ผสมแอสฟัลต์ออกเป็นสเป็กสำหรับเป็นสูตรที่จะใช้ในการบูรณะถนนต่อไป แต่ไม่ใช้ทุกพื้นที่ขึ้นอยู่กับสภาพการใช้งานด้วย
อนึ่ง นางภาวนิศร์ ชัววัลลี จากสำนักภาคใต้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ออกรายงานเรื่อง "สต๊อกยางพารา ปัจจัยที่ไม่ควรมองข้าม" ณ เดือนมิถุนายนศกนี้ว่าปกติปริมาณสต๊อกยางทั่วโลกแต่ละปีมีประมาณ 2 ล้านตัน คิดเป็น 2.1 เดือนของผลผลิตยางทั่วโลก แต่ตั้งแต่ปี 2555 เป็นต้นมา สต๊อกยางเร่งตัวเหนือระดับ 2 ล้านตัน และเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2556 สต๊อกยางคิดเป็น 3 เดือนของผลผลิตทั่วโลก ซึ่งสูงกว่าระดับปกติ จึงเป็นประเด็นที่นักลงทุนและผู้ส่งออกทั่วโลกให้ความสนใจเป็นอย่างมาก
ทั้งนี้ แหล่งสต๊อกยางที่สำคัญได้แก่ 1.ไทย ณ สิ้นเดือนมีนาคมศกนี้ มีสต๊อกยางธรรมชาติและยางคอมพาวนด์ (ผสมสารเคมี) 5.2 แสนตัน สูงกว่าปกติที่มี 2-3 แสนตัน 2.สต๊อกยางตลาดซื้อขายล่วงหน้าที่มีอิทธิพลต่อตลาดยางโลกคือตลาดล่วงหน้า เซี่ยงไฮ้และโตเกียวมีสต๊อก 1.9 แสนตัน 3.สต๊อกยางพาราชิงเต่า ประเทศจีน ณ สิ้นเดือนเมษายนนี้ มีสต๊อก 3.4 แสนตัน สูงกว่าสิ้นปี 2556 ที่อยู่ระดับ 2.6 แสนตัน รวมทั้ง 3 แหล่ง มีสต๊อกสูงถึง 1 ล้านตัน คิดเป็น 1 ใน 3 ของสต๊อกยางทั่วโลก ในขณะที่ความต้องการใช้ยางเฉลี่ยตั้งแต่ปี 2554-2556 คิดเป็นร้อยละ 1.4 ขณะที่อัตราเติบโตผลผลิตยาง คิดเป็นร้อยละ 3.5
ขณะเดียวกัน International Rubber Study Group (IRSG) คาดการณ์ว่า ในปี 2557 และ 2558 สต๊อกยางทั่วโลกจะมีประมาณ 3.2 และ 3.4 ล้านตันตามลำดับ ส่งผลกดดันราคายางให้ลดลงทั้งในปัจจุบันและอนาคต ซึ่งจะกระทบต่อไทยในฐานะผู้ผลิตยางธรรมชาติอันดับ 1 ของโลก โดยเฉพาะรายได้เกษตรกร
ข่าวประชาชาติธุรกิจ
รายงานข่าวจากคณะกรรมการเครือข่ายชาวสวนยางแห่งประเทศไทย (คชยท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุม คชยท. ประจำปี 2557 เมื่อช่วงต้นเดือนมีนาคม 2557 ที่ผ่านมา ได้มีการหารือถึงเรื่องสถานการณ์ราคายางพาราว่า ที่ประชุมคาดการณ์ว่าราคายางคงจะยังไม่ดีขึ้นไปกว่านี้ เพราะพิจารณาจากสต๊อกยางของไทยในโครงการที่ทางรัฐบาลได้แทรกแซงไว้มีอยู่อีก ประมาณ 200,000 กว่าตัน และยังมีสต๊อกยางที่อยู่กับพ่อค้าและโรงงานต่าง ๆ อีกประมาณ 300,000 ตัน เมื่อรวมแล้วสต๊อกยางของไทยจะมีอยู่ที่ประมาณ 500,000 ตัน ซึ่งเป็นผลผลิตที่มีปริมาณเยอะ
และเมื่อวิเคราะห์จากสถานการณ์ต่างประเทศพบว่า ประเทศจีนก็มีสต๊อกยางอยู่ประมาณ 200,000 ตันเช่นกัน ดังนั้น เมื่อนำสต๊อกยางทั้งหมดมารวมกันจะเห็นว่าราคายางในปี พ.ศ. 2557 ไม่น่าที่จะดีนัก และคาดกันว่าน่าจะไม่เกิน 70 บาทต่อกิโลกรัม และคาดว่าราคายางในปี พ.ศ. 2558 อาจจะได้รับผล กระทบอย่างต่อเนื่อง เพราะในพื้นที่ที่มีการปลูกยางทั้งในและต่างประเทศเริ่มที่จะมีผลผลิตมาก ขึ้น ทำให้ส่งผลต่อการใช้ยาง ซึ่งปริมาณการใช้ยางจะอยู่ที่ 11 ล้านตัน แต่ผลผลิตจะอยู่ที่ประมาณ 12 ล้านตัน จึงทำให้ราคายางพาราไม่น่าที่จะสูงขึ้นกว่าเดิมมากนัก.



สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร www.rubberthai.com/rubberthai/ คลิ๊กเข้าชมได้
มาถึงวันนี้...โอทูของเราได้พัฒนาตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ใช้ชื่อทางการค้าว่า..........
"โอทู ซุปเปอร์พรีเมี่ยม ออร์แกนิค" รวมคุณสมบัติที่เด่นที่สุดในการผลิตมาบรรจุในขวดนี้ ขวดเดียวเอาอยู่ ทุกอย่างไม่ว่าเรื่องขยายโครงสร้าง เรื่องโรคและแมลง เรื่องความสมบูรณ์ มีธาตุอาหารหลักครบถ้วน มีธาตุอาหารรองและธาตุอาหารเสริม แฟนพันธุ์แท้โอทู...ได้ใช้แล้วไม่ผิดหวัง...

Angotwo
สมาชิกของเราหลายกลุ่มได้นำเอาโอทูไปใช้กับต้นยางพาราเล็กแรกปลูก ได้ผลดีเกินคาด ฉีดพ่นหลังปลูกแล้วทุกๆ 15 วัน ระยะเวลาประมาณ 3 เดือน ต้นยางโตเร็วขยายโครงสร้างได้เร็วมาก สูงประมาณ 2 เมตรขึ้นไป ส่วนใหญ่เราแนะนำให้ใส่โวก้าเม็ดผสมปุ๋ยเคมีสูตรเสมอหลังฉีดพ่นโอทูทุกครั้ง ครั้งละประมาณ 100-150กรัม(หรือ 2 กำมือ) วิธีปฏิบัติเพียงเท่านี้ต้นยางพาราเล็กก็มีสิทธิ์พ้นฤดูแล้งได้อย่างสบาย หลังจากเข้าฤดูแล้งแล้วให้หาวัสดุคลุมดิน เพื่อป้องกันความชื้นระเหยออกจากดินเร็วเกินไป หมั่นดูแลเอาใจใส่ เหมือนเราอนุบาลเด็กเล็ก หากต้นยางพ้นแล้งแล้วไม่ตาย ปีหน้าก็สบายเพราะจะเริ่มออกฉัตรแล้ว
ส่วนต้นยางพาราใหญ่ที่ยังไม่ได้เปิดกรีด ก็ดูแลต่อเนื่องมีการฉีดพ่นโอทูทุก 15 วัน หรืออย่างน้อย 30 วันต่อครั้ง ใส่โวก้าเม็ดผสมปุ๋ยเคมี ช่วงฤดูฝนให้ได้อย่างน้อย 2 ครั้ง(ต้นฤดู-ปลายฤดู) หรือ 3 ครั้ง(ต้นฤดู-กลางฤดู-ปลายฤดู) เพียงเท่านี้ คุณก็จะเห็นความเปลี่ยนแปลงของต้นยางพาราที่โตขึ้น ใหญ่ขึ้น สมบูรณ์ขึ้น ใบเขียวเข้ม ใบใหญ่ ใบเป็นมัน
และต้นยางพาราที่เปิดกรีดแล้ว ทั้งเก่าและใหม่ ก็ต้องดูแลต่อเนื่องอย่างแข็งขัน เพราะเขาให้ผลผลิตเราแล้วให้เรามีรายได้แล้ว จึงต้องฉีดพ่นทุก 15 วันอย่าได้ขาด เพราะจำเป็นต้องได้รับสารเพิ่มกว่าปกติ แล้วให้ใส่ปุ๋ยใส่โวก้าเม็ดให้ได้ตามอัตภาพของสวน(ตามความสมบูรณ์ของดิน) ถ้าได้ฉีดพ่นโอทูอย่างสม่ำเสมอหน้ายางที่เปิดกรีดแล้วก็จะปารศจากโรคเชื้อราหน้ายาง ไม่ต้องทาปูนแดงอีกต่อไป ต้นยางก็จะมีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง ไม่มีชงัก สังเกตุจากเส้นรอบวงของพืชใหญ่ขึ้นกว่าปกติทั่วไป (จากที่ไม่ได้ใช้ การเจริญเติบโตจะช้ามากกว่าสวนที่ใช้โอทู) พิสูจน์ความจริงแท้แน่นอนได้แล้ว ทุกอย่างเป็นของจริง
1.หน้ายางกรีดนิ่มขึ้น น้ำยางเดินดี
2.ได้น้ำยางมาก และเนื้อยางเข้มข้นขึ้น
3.ได้น้ำหนักยางเพิ่มขึ้นหลายเท่า
4.แผลที่เปิดกรีดจะมีเนื้อเยื่อใหม่ๆขึ้นมาหุ้มแผลกรีดเร็วมาก
5.ในช่วงฤดูฝน ก็ปราศจากโรคเชื้อราหน้ายาง
6.ต้นที่มีปัญหาหน้ายางตายนึ่ง กรีดน้ำยางไม่ออก ก็จะฟื้นฟูได้ แล้วก็สามารถกลับมากรีดใหม่ได้ เป็นปกติ
7.ฉีดลงพื้นดินด้วย ก็จะช่วยให้ดินร่วนซุ่ยขึ้น มีธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และธาตุอาหารเสริมครบทุกอย่างที่พืชต้องการ เราจึงสามารถลดต้นทุนของปุ๋ยเคมีได้เป็นอย่างมาก ถึง 60-90%ทีเดียว คุณใช้อยู่คุณจะรู้เอง
8.ช่วยย่อยสลายอินทรีย์วัตถุในดินให้พืช ได้ใช้เป็นอาหารหยาบทันที ทำให้ดินโปร่ง อุ้มน้ำได้ดีขึ้นในพื้นที่ที่เป็นดินทราย และในพื้นที่ที่เป็นดินเหนียวก็จะระบายน้ำได้ดีขึ้น
9.ทำให้เรามีรายได้มากขึ้น ต้นยางของเราก็สมบูรณ์ขึ้น สุขภาพร่ายกายของเราก็ดีขึ้น (ดีกว่าใช้สารเคมีเป็นร้อยเท่า)
เพียงเท่านี้ชีวิตเราครอบครัวเราก็มีความสุขล้นแล้ว ต้องขอแสดงความยินดีกับผู้ที่เป็นแฟนพันธุ์แท้ของเรา ที่ใช้โอทูไม่หยุด เพราะมองเห็นความร่ำรวย เห็นโอกาสในวิกฤติปัจจุบัน และต้องขอชื่นชมกับทีมงานที่พลิกวิกฤติให้เ้เป็นโอกาส มองเห็นความร่ำรวยในธุรกิจโอทู แบ่งเวลามาทำงานได้อย่างลงตัวและยอดเยี่ยมมาก เรียกได้ว่าฟื้นฟูความร่ำรวยแบบดับเบิ้ล (หรือคูณสองเลยทีเดียว) ตัดสินใจลงทุน ลงแรง กับธุรกิจโอทู ได้แล้วครับ...
ติดต่อคุณอัง.087-8747997,089-8489604 ทุกเวลา


สวัสดีครับ...วันนี้ผมจะเล่าประสบการณ์ของเกษตรกรที่ทำสวนยางพารา (ดินแดนยางพาราต้นแรกสวนแรกในภาคอิสาน ที่อ.บ้านกรวด จ.บุรีรัมย์) คนอิสานส่วนใหญ่ต้องมาเรียนรู้ที่นี่...
เมื่อก่อนคนอิสานกรีดยางไม่เป็น กรีดบาดลึกไม่สม่ำเสมอ ทำให้เกิดแผลเหวอะหวะ ไม่สามารถกลับมากรีดหน้าเดิมได้ ประกอบกับไม่คุ้นเคยการทำงานช่วงดึก และราคาตอนนั้นไม่สูง ยางแผ่นแห้งชั้น 2 อยู่ที่กก.ละ20-24บาทเท่านั้น! เกษตรกรบางรายถึงกับปล่อยทิ้งร้าง ไฟไหม้สวนยาง และโค่นทิ้งก็มาก เหลือเฉพาะผู้ที่โชคดี..มาถึงวันนี้ เขาเหล่านั้นเปลี่ยนแปลงตัวเองเป็นเศรษฐีใหม่กันทุกคน.....
เพราะเหตุที่ว่าต้นยางไม่สมบูรณ์ ดูแลมาไม่ดีเท่าที่ควร เกิดปัญหามากมาย เช่น.แผลที่กรีด,โรคแทรก,เชื่อราหน้ายาง ความไม่สมบูรณ์ทำให้เกิดปัญหาแคะแกร่น ปัญหาทั้งหมดนี้ชาวสวนยางพาราที่นี่ก็พยายามค้นหาตัวช่วย ที่จะมาช่วยฟื้นฟูต้นยางให้กลับมาดีขึ้นกว่าเดิม แต่ก็ยังไม่มีสารตัวไหนที่ดี เป็นฮีโร่ขี่ม้าขาวมาช่วยได้อย่างจริงจัง ก่อนหน้านี้เราก็จะเห็นสารกลุ่ม"ไคโตซาน เป็นส่วนใหญ่ แต่สาร"ไคโตซานสกัดจากสัตว์(เช่นเปลือกกุ้ง,เปลือกปู,กระดองปลาหมึก) จึงกระตุ้นพืชได้แต่เพียงภายนอกเซลล์เท่านั้น เนื่องจากโมเลกุลของสัตว์แตกต่างจากพืช
ปัจจุบันนี้เรามีพระเอกขี่ม้าขาวมาช่วยแล้ว.....ใช้ชื่อเครื่องหมายการค้าว่า"โอทู ซุปเปอร์พรีเมี่ยม ออร์แกนิค"otwo superpremuim organic เป็นสารกลุ่มฟลาโวนอยด์จากพืช 15 ชนิดเป็นสารสกัดจากธรรมชาติ จากพืชสู่พืชโดยตรง กระตุ้นเซลล์พืชให้เจริญเติบโตได้เร็วขึ้น มากกว่าฮอร์โมนในท้องตลาดทั่วไปถึงหมื่นเท่า จึงตอบโจทย์ปัญหาของชาวสวนยางพาราได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเจริญเติบโต สามารถขยายโครงสร้างของลำต้นให้โตขึ้นกว่าเดิม ปลอดเชื้อราหน้ายาง ซ่อมแซมเซลล์พืชที่เสียหายได้เร็ว (สังเกตุจากแผลที่กรีด จะมีเนื้อเยื่อเซลล์ใหม่มาทดแทนเร็วมาก เร็วกว่าปกติ) ต้นยางที่เคยทรุดโทรมกลับฟื้นมีพลังขึ้น เดินยอดใหม่ได้ดี ใบใหญ่ขึ้น หนาขึ้น เขียวเข้มขึ้นกว่าเดิมมาก ปัญหาเรื่องโรคเชื้อราที่ใบยางก็ลดลง ปัญหาเรื่องยางกินปุ๋ยไม่ดีก็ลดลง ต้นยางกินปุ๋ยได้ดีขึ้น ต้นยางก็สมบูรณ์ขึ้นมาก ผลผลิตน้ำยางก็มากขึ้น และมีคุณภาพมากขึ้นด้วย สังเกตุจากเนื้อยางในน้ำยางที่กรีดข้นมากขึ้น ได้น้ำหนักมากขึ้น โดยเฉพาะต้นยางเล็กที่ปลูกใหม่ จะโตเร็วมาก โตเสมอกันทั้งสวน มีโอกาสรอดสูงมาก คนที่ผลิตกล้ายางชำถุง รายที่นำ"โอทู ซุปเปอร์พรีเมี่ยม ออร์แกนิค"ไปใช้ รากยางจะเดินเต็มถุง ยางเล็กสมบูรณ์ ใบเขียวเข้ม เมื่อนำไปปลูกอัตราการตายเป็นศูนย์เลยครับ (หากไม่สมบูรณ์จริง โดยใช้สารเร่งน้ำยางที่เป็นเอทธีลีน น้ำยางจะใสเนื้อยางน้อย ยอดยางหด ยอดอ่อนพับ แล้วค่อยตายจากยอดลงมาเรื่อยๆ)
หากท่านยังไม่เคยได้ใช้"โอทู ซุปเปอร์พรีเมี่ยม ออร์แกนิค" ผมก็ขอแนะนำให้ท่านได้ลองใช้ วิธีการใช้ก็ไม่ยุ่งยาก เพียงฉีดพ่นลำต้น 15 วัน/ครั้ง (ปรับหัวให้ฝอย ฉีดทั้งลำต้น ฉีดพ่นให้ละอองเกาะต้นพืชก็พอ ไม่ต้องเปียกโชก) ครั้งแรกที่ท่านฉีด คืนนั้นท่านกรีดยางหน้ายางก็นิ่มแล้ว ได้น้ำยางมากขึ้น เราก็จะฉีดแบบนี้ตลอดไป ถึงแม้จะปิดหน้ายางแล้วก็ตาม
อัตราการใช้. ต้นยางพาราใหญ่ อายุ 1 ปีขึ้นไป ใช้"โอทู ซุปเปอร์พรีเมี่ยม ออร์แกนิค" 1 ซีซี ต่อน้ำ 5 ลิตร (ฉีดพ่นทุกๆ 15 วัน สามารถฉีดพ่นได้ทั้งวันสำหรับยางใหญ่ที่มีความร่มเย็นภายใน)
ต้นยางพาราเล็ก ตั้งแต่เริ่มลงปลูกใหม่ถึง 1 ปี ใช้"โอทู ซุปเปอร์พรีเมี่ยม ออร์แกนิค" 1ซีซี ต่อน้ำ 10ลิตร ฉีดพ่นทุกๆ 7 วัน พร้อมทั้งใส่ปุ๋ยช่วงที่แตกใบอ่อนเรื่อยๆ (ควรให้ปุ๋ยจำนวนน้อยๆ แต่ให้บ่อยครั้ง) ต้นยางเล็กจะโตเร็วมาก แข็งแรง โตเสมอกันทั้งสวน ผ่านฤดูแล้งได้สบายมาก โอกาสรอดสูงมาก (ต้นยางเล็กห้ามฉีดพ่นตอนแดดร้อนมากๆ ควรฉีดพ่นตอนเช้า และเย็นเท่านั้น)
หากมีปัญหา ติดต่อสอบถามได้ทุกเวลาที่ คุณอัง.087-874 7997, 089-848 9604


ยางเพิ่งได้กรีด..หน้าตายแล้ว..(มันเป็นอะไร!!!!)
รากติดเชื้อรา
โรคเส้นดำ
"เรา จะพยายามหาข้อมูลใหม่ๆมานำเสนอท่าน ขอขอบพระคุณทุกท่านที่ให้ความสนใจในบทความนี้ ขอขอบพระคุณครับ"


เชื้อราที่ใบยาง ร่วงทับถม ก่อให้เกิดเชื้อราในดิน ถ้าฝนตกร่วมด้วย จะระบาดเร็วมาก









picasaweb.google.com/115197958525122134609/KIWlVC
เกี่ยวกับรูปภาพหมวดยางพารานี้
โครงการไม่เปิดกรีดต้นยางพาราก่อนกำหนด เริ่มแล้ววันนี้
โครงการไม่เปิดกรีดต้นยางพาราก่อนกำหนด เปิดรับสมัครเกษตรกรชาวสวนยางในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือแล้วหลังจากที่มีกระแสข่าวมากมายแสดงความห่วงใยชาวสวนยางพาราต่อการเปิดกรีดยางต้นเล็กหรือต้นยางที่โตไม่ได้ขนาด 50 ซม. ที่จะส่งผลให้ชาวสวนยางต้องสูญเสียรายได้เฉลี่ยมากถึง 11,700-17,600 บาท/ไร่/ปี และมีช่วงเวลากรีดยาง อาจไม่เกิน 15 ปี แทนที่จะกรีดได้ 25-30 ปี หรือมากกว่า
“ราคายางพุ่งชาวสวนเร่งกรีดต้นยางไม่ได้ขนาด สกย.จ.เลย เตือนอาจขาดทุนสูงไร่ละ 3 แสนบาท”, “ชาวอีสานสบช่องยางราคาพุ่ง เร่งเปิดสวนกรีดก่อนกำหนด”, “เศรษฐีใหม่สวนยางพรึบอีสาน”, “บุรีรัมย์เตือนเกษตรกรที่เร่งกรีดยางก่อนกำหนดหลังราคาจูงใจ เสี่ยงทำให้ต้นยางอายุสั้นได้ผลผลิตน้อย”, “การผลิตยางในพื้นที่ปลูกใหม่กับปัญหาที่ต้องแก้”, “ชี้กรีดยาง 1 ล.ไร่ก่อนกำหนดสูญแสนล้าน” เหล่านี้เป็นพาดหัวข่าวของสื่อหนังสือพิมพ์ทั้งในรูปแบบออนไลน์/อินเทอร์เนตและไม่ออนไลน์ คงจะเป็นเรื่องน่าเศร้าที่เศรษฐกิจเราเสียหายทั้งประเทศนับแสนล้านกับอุทกภัยในปีนี้ และอีกไม่ต่ำกว่า 100,000 ล้านบาท จากการเปิดกรีดต้นยางที่ไม่ได้ขนาดที่กำลังเกิดขึ้นอย่างมากมายจนกลายเป็นกระแสที่น่ากลัวในเขตปลูกยางใหม่ทั้งในภาคะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ
การเปิดกรีดยางก่อนกำหนด มีผลเสียมากมายมหันต์ ผู้ที่ต้องตกเป็นผู้รับความเสียหายอย่างใหญ่หลวงในเรื่องนี้ ก็คือเกษตรกรชาวสวนยางและประเทศชาติ หากเราจะฉายภาพความเสียหายที่ว่าให้ชัดมากขึ้น เราลองมาดูกรณีของการทำสวนยาง สัก 10 ไร่ การเปิดกรีดต้นยางก่อนกำหนดหรือยางต้นเล็ก จะทำให้ชาวสวนยางต้องสูญเสียผลผลิตเนื้อยางแห้ง มากถึงปีละ 1,170-1,760 ก.ก./ไร่ หากคิดเทียบจากราคายาง 100 บาท/ก.ก. ก็จะทำให้ชาวสวนยางสูญเสียรายได้ไปปีละ 117,000-176,000 บาท หรือ อาจจะ 3,000,000-4,000,000 บาทตลอด 25 ปีที่สวนยางมีศักยภาพที่จะให้ผลผลิตได้ (ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Rubber blog) มูลเหตุของการเปิดกรีดยางก่อนกำหนดมาจาก 2 ปัจจัยหลัก คือ เกษตรกรชาวสวนยางขาดแคลนเงินทุนที่จะใช้ในการบำรุงดูแลสวนยางและราคายางพุ่งสูงมากจนเป็นเหตุให้เกษตรกรตัดสินใจเปิดกรีดยางก่อนที่ควรจะเป็น
นับเป็นเรื่องที่น่ายินดีมาก ๆ ที่ภาครัฐ โดยเฉพาะสำนักงานกองทุนสงเคราะห์สวนยางหรือ สกย. และธกส. ได้ร่วมกันจัดทำ “โครงการไม่เปิดกรีดต้นยางพาราก่อนกำหนด” และได้เปิดรับสมัครชาวสวนยางเข้าร่วมโครงการฯตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน 2554 – 30 กันยายน 2555 (ดูรายละเอียดโครงการฯที่นี่) live-rubber คิดว่าน่าจะเป็นโครงการที่ดี ที่จะแก้ปัญหาได้ตรงจุดและราคายางขณะนี้ ก็ยังไม่ขึ้นไปสู่ระดับสูงที่จะจูงใจให้ชาวสวนยางเผลอใจกระทำการที่จะเป็นการลดความมั่นคงในอาชีพการทำสวนยางพารา อีกต่อไป
.jpg)
.jpg)


